จริงหรือที่โลกจะหายไป....
เรื่องนี้คือเรื่อง ดาวปริศานาดวงที่ 12 ของ ระบบสุริยะจักรวาล
ถ้าใครได้พอดูความปี 2002 จะได้ทราบว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ ดาวดวงที่ 12 ขึ้นมาอยู่ในระบบกาแล็คซี่เราดื้อๆ
แต่ความเป็นจริงนักดาราศาสตร์รู้จักดาวนี้มาตั้งแต่ปี 1982 แล้ว
ซึ่งเป็นข่าวใหญ่โตมากช่วงเดือน พฤษภาคม เพราะผมก็ได้ดูเหมือนกัน
มันคือดาวที่มีชื่อตั้งทางวิทยาศาตร์ว่า นิบิรุ (Nibiru)
และด้วยหลักฐานโบราณวัตถุและนักโบราณคดีได้กล่าวไว้เนืองๆ ว่า...
สิ่งของที่ไม่สามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้เกิดจากดาวดวงนี้
แต่สิ่งที่เรารับรู้คือเจอดาวเคราห์ดวงใหม่ แล้วก็จบ...
ทำไมถึงกล่าวอ้างเช่นนั้น?
ิสิ่งที่เราไม่รู้มันคือสิ่งนี้ครับ....
ดาวดวงนี้ทุนเดิมไม่ได้อยู่ในระบบกาแล็คซี่ทางช้างเผือกมาแต่เนิ่นๆ อยู่แล้ว
แต่... มีวงโคจรกว้างใหญ่ไพศาลมาก จนมาทับซ้อนลงบนกาแล็คซี่นี้
แปลว่า... ที่นักวิทยาศาสตร์เห็นเพิ่มมาดวงก็แปลว่ามันโคจรเข้ามาใกล้กาแล็คซี่เราสินะ
ถูกครึ่งเดียวครับ ความจริงมันเเข้ามาทับวงโคจรทั้งแถบเลย
(ลักษณะทางกายภาพที่เป็นไปได้ของดาวนิบิรุครับ)
อันนี้ใช้เทคโนโลยี้ขั้นสูงในการถ่ายซูมครับ ทำให้รู้ได้ว่า ดาวนี้เป็น ดาวฤกษ์ครับ
และทับเข้ามาแค่ไหน
เส้นทางการเดินทางของวงโคจรดาว นิบิรุ เข้ามาทับเส้นเดียวกับโลกเลยครับ
แปลว่า... มันมีสิทธิชนโลกเราอย่างแน่นอน!!!
รูปนี้คือเส้นวงโคจรของดาวนิบิรุครับ
มันเข้าใกล้มาจริงเร้อ?
เส้นทางวงโคจร ทำให้เรารู้ได้ว่าทางเราส่องดาวบริเวณทิศใต้สุดของดาวโลกเราจะเห็น
แต่ปัจจุบันนี้ ปีนี้สามารถเห็นได้ด้วยเปล่าแล้ว
(เส้นขาวๆ คือลูกศรชี้ตำแหน่งดาวนิบิรุครับ)
และสำหรับคนที่อยากเห็นแต่ไม่มีตังไปออสเตรเลียหรือประเทศอะไรที่อยู่ทางใต้ของโลกนะ
ครับ
แนะนำให้ลองใช้โปรแกรม googleSky ดู ท่านจะเห็นเป็นวงแดงๆ อยู่วงเดียวทั้งท้องฟ้า นั่นหละครับ นิบิรุ...
แล้วทำไม? มันเกี่ยวอะไรกับโบราณสถานและวัตถุในอดีตหละ
นักโบราณฯ สันนิษฐานว่า นิบิรุเคยโคจรเข้ามาใกล้ทีนึงแล้วในเมื่อหลายแสนปีก่อน
แต่มารอบนี้ มาเทียบและทาบวงโคจรของดาวนิบิรุ คาดว่ามีโอกาสที่จะชนกันสูง
หรือแม้เฉียดกันก็เกิดอันตราย
เพราะแกนของดาวมีสนามแม่เหล็กอยู่ อาจจะทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ
เกิดภาวะน้ำขึ้นกระทันหัน เกิดพายุต่างๆ นา
และเค้าคาดการณ์ไว้แล้วว่า ปี 2012 เราสามารจะเห็นดาวนิบิรุ ใหญ่ขนาดดวงอาทิตย์ได้เลย เพราะมันเข้าใกล้เรามากแล้ว
ข้อมูลอาจจะยังไม่แน่นพอ เพราะ NASA :Xปิดข่าว แต่นักดาราศาสตร์ออกมาอธิบายเรื่องทฤษฎีความเป็นไปได้กันอย่างจ้าละหวั่น
ข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่คือ บางแหล่งบอก ดาวฤกษ์ และ อุกกาบาต เพราะขนาดของมันใหญ่กว่าดาวพฤหัส 2 เท่า!!!
(ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบนี้)
ปล. งานนี้ก้อถึงเวลาที่ธรรมชาติเลือกเราของแท้แล้วละนะครับ
ส่งต่อๆกันมานะครับ....มีแถมให้หน่อย
อย่างที่รู้ๆกันว่า ดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า นิบิรุ จะโคจรเข้ามาใกล้โลก ซึ่งมีผลกระทบอย่างแน่นอน แต่ใครมีความรู้ดีๆเรื่องมั้ง มาคุยกันดีกว่าเนอะ ดาวนิบิรุ (Planet X Nibiru)สันนิฐานว่าถูกดวงอาทิตย์จับไว้เมื่อ 500,000 ปีก่อน
ก่อนและหลังจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลกผลกระทบ (เท่าที่รู้มา)
เนื่องจากมันเป็นดาวฤกษ์ ซึ่งถ้ามันโคจรเข้าใกล้ๆวงโคจรของระบบสุริยะนี้ ก็สร้างความปั่นป่วนได้แล้ว (ปัจจุบัน ดาวยูเรนัสกับเนสจูนโดนเป็นประจำ) และวิถีโคจรของมันโดยองค์กรนาซ่าบอกว่า...จะโคจรเข้า มาใกล้มาๆและมันจะโคจรเข้าเป็นเส้นตรงพอดีในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.2012 (ช่วงจบกึ่งกลางพุทธกาลพอดี) ก็คือ ดวงอาทิตย์ โลก และนิบิรุ อยู่ในระนาบเดียวกันพอดี วันนั้นจะเป็นวันวิบัติซึ่งจะมีผลดังนี้
1.สร้างความปั่นป่วนให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
2.น้ำจะขึ้นสูงมากๆจนเกิดวิกฤติการ์ที่เรียกว่า น้ำท่วมโลกหรือซุปเปอร์ซึนามิ
3.แผ่นดินไหวและภูเขาไฟไปทั่วโลก
4.ระบบอิเล็กโทรนิคจำนวนมากจะทำงานผิดปกติ (ระบบขีปนาวุธ ,computer)
5.การอพยพของฝูงสัตว์ เช่น นก หรือปลาวาฬ ทำให้สูญเสียทิศทางและอื่นๆ
6.ระบบภูมิคุ้มกันโรคในบรรดาสัตว์รวมถึงมนุษย์จะทำให้อ่อนอย่างมาก
7.สนามแม่แหล็กโลก (Magnetosphere) จะอ่อนแอลง และการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์จะเพิ ่มปริมาณถึงระดับอันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมา ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
8.กลุ่มวัตถุในอวกาศที่มีเส้นผ่านมากมายจะเฉียดเข้าใ กล้โลกได้ง่ายขึ้น
9.แรงดึงดูดของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (มนุษย์น่าจะกระโดดได้สูงขึ้นกว่าเดิม)
ไม่หมดเพียงเท่านี้ หลังจากเหตุการณ์นี้ไม่กี่เดือน เราจะเจอพายุสุริยะเข้าอย่างจัง ซึ่งอย่างที่รู้ๆกันว่า สนามแม่เหล็กโลกช่วยป้องกันไม่ให้มันมีผลกระทบมากนัก เมื่อไม่มีก็วิบัติ มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือชนเผ่ามายาหรือมายันนี่เอง พวกเขาได้ทำปฏิทินไว้สองแบบก็คือ
แบบที่หนึ่ง สามารถเทียบเคียงได้กับปฏิทินจริงที่เราใช้กันในปัจจุบัน และมีความคลาดเคลื่อนกันน้อยมาก
แบบที่สอง คือปฏิทินที่ข้างบนๆได้กล่าวไว้ (หมายถึงมีถึงแค่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012)
เรื่องราวต่างเป็นที่รู้ดีกันนานแล้วในวงการแต่เรื่องผลกระทบต่างๆเป็นแค่การคาดการ์ณลาวงหน้าเท่านั้น.....
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Credit:PaLungJit.com(littleweb_cs)
วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495
+++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)